เรามาดูว่าต้นอ่อนทานตะวันมีประโยชน์อะไรบ้างดีกว่า...........
ลักษณะโดยทั่วไปของต้นอ่อนทานตะวัน จะคล้ายกับถั่วงอก
เรียกกันว่าเป็นเมล็ดงอกตัวใหม่ที่ไม่ใช่ธัญพืช
แต่เป็นการเพาะทานตะวันอ่อนหรือทานตะวันงอกด้วยการเพาะจากเมล็ดทานตะวัน
ทานตะวันงอก เป็นเมล็ดงอกตัวใหม่ซึ่งไม่ใช่ธัญพืช ปัจจุบัน บริโภคกันอย่างแพร่หลายในทานตะวัน 100 กรัม จะให้พลังงานแก่ร่างกาย 500 กิโลแคลอรี โปรตีน 23 กรัม ไขมัน 50 กรัม แคลเซียม 14.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 19 กรัม สังกะสี 5 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 690 มิลลิกรัม ไขมันที่อยู่ในเมล็ดทานตะวันจะเป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัว ประกอบด้วยวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินบี 1 วิตามินอี และไนอะซิน
ทานตะวันงอก เป็นเมล็ดงอกตัวใหม่ซึ่งไม่ใช่ธัญพืช ปัจจุบัน บริโภคกันอย่างแพร่หลายในทานตะวัน 100 กรัม จะให้พลังงานแก่ร่างกาย 500 กิโลแคลอรี โปรตีน 23 กรัม ไขมัน 50 กรัม แคลเซียม 14.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 19 กรัม สังกะสี 5 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 690 มิลลิกรัม ไขมันที่อยู่ในเมล็ดทานตะวันจะเป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัว ประกอบด้วยวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินบี 1 วิตามินอี และไนอะซิน
ต้นอ่อนทานตะวันมีสรรพคุณ บำรุงสุขภาพ ผิวพรรณ สายตา
ชะลอความชรา บำรุงเซลล์สมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม อุดมไปด้วยวิตามิน บี 1 บี 6 วิตามินอี โอเมก้า 3 , 6 , 9 และธาตุเหล็ก จากรายงานการวิจัยพบว่าต้นอ่อนทานตะวัน ปริมาณ 100 กรัม
จะให้พลังงานแก่ร่างกายประมาณ 500 กิโลแคลอรี่
ที่ประกอบไปด้วยโปรตีน ไขมัน แคลเซียม สังกะสี คาร์โบไฮเดรต โพแทสเซียม ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลอีกด้วย สามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัย
ย่อยง่าย มีส่วนช่วยในการขับถ่าย แต่ถ้าอยากได้ประโยชน์สูงสุดให้นำมาปั่นเป็นน้ำผักดื่มก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงตอนท้องว่าง
จะได้ประโยชน์จากทั้งวิตามินและเอ็นไซม์ที่สูงมากๆ
บางภาพยืมมาจาก Internet นะครับ
สามารถทำอาหารได้หลายอย่าง อย่างเช่น การบริโภคสดแบบสลัด หรือนำไปจิ้มน้ำพริก ไม่ว่าจะเป็นสดหรือลวก นำไปใส่ก๋วยเตี๋ยวแทนถั่วงอก หรือนำไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ผัดน้ำมันหอย แกงส้ม แกงจืด หรืออาหารคาวได้อีกหลายอย่างบ้างก็นำมาปั่นเป็นน้ำผักดื่มก็จะได้น้ำผักสีเขียวเข้ม กลิ่นเหมือนใบบัวบก เมื่อดื่มในขณะท้องว่างจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก เพราะมีวิตามินและเอนไซม์ค่อนข้างสูง
เมนูแนะนำ ง่ายๆ นะครับ